เมืองตุนหวง (Dunhuang: 敦煌市) เมืองแห่งทะเลทรายทางตะวันตกของมณฑลกานซู สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่าง "ทะเลทรายโกบี" และ "ทะเลทรายตากลามากัน" ในอดีตเมืองตุนหวงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเส้นทางสายไหมที่นักเดินทางต้องผ่านทำให้มีสถาปัตยกรรมจำนวนหนึ่งเกิดขึ้นและยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน


พิพิธภัณฑ์ตุนหวง (Dunhuang Museum: 敦煌博物馆)
ภาพ: The New York

สถานที่ท่องเที่ยวในตุนหวง
• พิพิธภัณฑ์ตุนหวง: พิพิธภัณฑ์สามชั้นตั้งอยู่ย่านใจกลางเมือง แหล่งเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเมืองตุนหวงและเส้นทางสายไหม จัดแสดงโบราณวัตถุของจีนและทิเบตกว่า 10,000 ชิ้น มีการจำลองจิตรกรรมฝาผนังและบรรยากาศภายในถ้ำม่อเกา


เจดีย์ม้าขาว (White Horse Pagoda)
ภาพ: Obelisk Art History

• เจดีย์ม้าขาว: เจดีย์โบราณลักษณะคล้ายกับเจดีย์ม้าขาวในกรุงปักกิ่ง มีเรื่องเล่าว่าพระกุมารชีวะได้อัญเชิญพระไตรปิฎกผ่านมาแล้วม้าพาหนะของท่านตายลงที่นี่จึงมีการสร้างเจดีย์ขึ้นตรงตำแหน่งที่ม้าขาวตาย

• บึงจันทร์เสี้ยว: บึงน้ำรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยวท่ามกลางทะเลทราย บริเวณบึงมีสถาปัตยกรรมจีนซึ่งเมื่อเข้าไปด้านในจะรู้สึกเหมือนอยู่คนละโลกกับด้านนอก น้ำในบึงใสสะอาดสะท้อนภาพทิวทัศน์โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน บึงจันทร์เสี้ยว


เขาหมิงซา (Mingsha Mountain: 鳴沙山)
ภาพ: CGTN

• เขาหมิงซา: เนินทรายสูงกว่า 200 เมตร ชื่อเขาหมิงซาแปลว่า "เขาทรายร้อง" เกิดจากการขึ้นไปบนเนินทรายแล้วไถลลงมา ทรายที่ร้อนระอุจะเสียดสีกันจนเป็นเสียงดัง แนะนำให้เดินทางไปโดยขี่อูฐทีมีบริการทั้งวัน

• ถ้ำม่อเกา: แหล่งประติมากรรมพุทธศาสนาบนหน้าผา อาณาบริเวณถ้ำม่อเกามีการค้นพบคัมภีร์โบราณ ประติมากรรมทางพุทธศาสนาทั้งพระพุทธรูปและจิตรกรรมฝาผนังสะท้อนถึงการสืบทอดพุทธศิลป์อันยาวนานนับพันปี ถ้ำม่อเกา


อุทยานธรณีแห่งชาติหย่าตันตุนหวง (Dunhuang Yardang National Geopark: 敦煌雅丹国家地质公园)
ภาพ: People's Daily

• อุทยานธรณีแห่งชาติหย่าตันตุนหวง: อุทยานธรณีแห่งชาติครอบคลุมพื้นที่ 398 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเป็นภูมิประเทศทรายและดินโคลนที่ทับถมกันแล้วเกิดการกัดกร่อนของแรงลมและสายฝนเป็นร่องยาวจนมีสภาพสวยงามแปลกตาดุจแดนพิศวง


ด่านประตูหยก (Yumen Pass: 玉门关)
ภาพ: West China Tour

• ด่านประตูหยก: ซากปรักหักพังของด่านประตูการค้าบนเส้นทางสายไหมที่ได้รับการอนุรักษณ์เอาไว้อย่างดี ด่านประตูหยกสร้างในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกโดยใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งหยกจากภูมิภาคตะวันตก