ญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีภาษาพูดเป็นของตนเอง เพียงแต่ไม่มีตัวอักษรที่ใช้ในการสื่อสาร จนกระทั่งได้รับวัฒนธรรมจากจีน ญี่ปุ่นจึงนำอักษรจีนมาดัดแปลงจนกลายเป็นตัวอักษรของตนเอง โดยสามารถแบ่งอักษรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอักษรที่ใช้แทนเสียง ได้แก่ "ฮิรางานะ" (Hiragana) กับ "คะตะคะนะ" (Katakana) และตัวอักษรที่ใช้แสดงความหมาย ได้แก่ "คันจิ" (Kanji) โดยจะใช้ร่วมกับตัวเลขอารบิกและตัวอักษรโรมัน


ฮิรางานะ (Hiragana)

อักษรฮิรางานะ (Hiragana)
• ฮิรางานะ พยัญชนะที่ใช้เขียนภาษาญี่ปุ่นทั่วไป พัฒนามาจากอักษรจีน ใช้ในสื่อสำหรับเด็ก ตำราเรียน หนังสือการ์ตูน และใช้เป็นคำอ่านสำหรับตัวอักษรคันจิ


คะตะคะนะ (Katakana)

อักษรคะตะคะนะ (Katakana)
• คะตะคะนะ พยัญชนะใช้เขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ ตัวอักษรคะตะคะนะกำเนิดในยุคเฮอัน โดยนำมาจากส่วนหนึ่งของตัวอักษรคันจิ


คันจิ (Kanji)

อักษรคันจิ (Kanji)
• พยัญชนะที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีนโดยตรง เนื่องจากตัวคันจิมีจำนวนมากรัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้กำหนดมาตรฐานของตัวคันจิเรียกว่า "โจโยคันจิ" ประกอบด้วยตัวอักษร 1,945 ตัว

นอกจากตัวอักษรทั้ง 3 ชนิดที่ใช้กันทั่วไปแล้ว ญี่ปุ่นยังมีตัวอักษรอีกชนิด คือ "โรมันจิ" เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษใช้สำหรับเทียบเสียง (เหมือนในภาษาจีนที่มีการใช้อักษรพินอิน) เพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียงสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการศึกษาภาษาญี่ปุ่น