แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปเพียงใดแต่ชาวจีนก็ยังคงไม่ละเลยงานเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล หลักๆแล้วเทศกาลในจีนนั้นถือกำเนิดจากเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์และตำนานเรื่องเล่าที่อาจจะเหนือธรรมชาติไปบ้าง ต่อไปนี้คือเทศกาลจีนบางส่วนที่น่าสนใจซึ่งเราจะมาแนะนำให้รู้จักกัน
เทศกาลปีใหม่จีน (Chinese New Year)
• เทศกาลปีใหม่จีนหรือก็คือ "ตรุษจีน" ถือเป็นเทศกาลที่สำคัญของชาวจีน (รวมทั้งเชื้อสายจีน) ทั่วโลกเลยก็ว่าได้เพราะถือเป็นการเริ่มต้นในหลายสิ่งหลายอย่างสมชื่อเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (Spring Festival) โดยปกติงานฉลองตรุษจีนจะเริ่มในวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติและไปสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งตรงกับเทศกาลหยวนเซียว
เทศกาลโคมไฟ (Lantern Festival)
• เทศกาลโคมไฟหรือที่เรียกว่า "หยวนเซียว" (Yuan Xiao) เทศกาลเก่าแก่ของจีนที่มีประวัติความเป็นมานานนับตั้งแต่สมัยฮั่นตะวันตก โดยงานจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติ ในงานจะมีการประดับโคมไฟหลากสีสันเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล และอาหารสำคัญของเทศกาลที่จะขาดไม่ได้เลยคือ "ถังหยวน" หรือ "บัวลอย" ลูกใหญ่ที่มีทั้งไส้หวานและเค็ม
เทศกาลไหว้พระจันทร์ (Moon Festival)
• เทศกาลที่สืบทอดกันมาเป็นพันปีตามความเชื่อโบราณ งานไหว้พระจันทร์ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินทางจันทรคติซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง โดยในคืนนี้จะสามารถมองเห็นดวงจันทร์กลม ใหญ่และสว่างมากที่สุดในรอบปี เทศกาลไหว้พระจันทร์
เทศกาลเช็งเม้ง (Qingming Festival)
• "เทศกาลเช็งเม้ง" หรือ "ชิงหมิง" งานที่สำคัญมากที่สุดของชาวจีนอันแสดงถึงความกตัญญูซึ่งถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ เทศกาลเชงเม้งมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปี งานจะเริ่มประมาณต้นเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ บรรดาลูกหลานชาวจีนจะไปทำความสะอาดและไหว้บรรพบุรุษที่สุสานเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
เทศกาลตวนอู่ (Duanwu Festival)
• "เทศกาลตวนอู่" หรือ "เทศกาลขนมจ้าง" เทศกาลที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจัดขึ้นในวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติเพื่อระลึกถึง "ซีหยวน" กวีผู้รักชาติที่ปลิดชีวิตตนเองโดยการกระโดดลงแม่น้ำแยงซี โดยทางรัฐบาลจีนได้ควบให้วันนี้เป็นวันกวีจีน (The Chinese Poet's Day) นอกจากขนมจ้าง (บ๊ะจ่าง) ที่เป็นของคู่เทศกาลแล้วก็ยังมีการแข่งขันเรือมังกรร่วมด้วย
เทศกาลฉงหยาง (Chongyang Festival)
• "เทศกาลฉงหยาง" หรือ "จิ๋วจิ่ว" เทศกาลเก่าแก่ตั้งแต่สมัยจ้านกว๋อ ตรงกับวันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติซึ่งเลข 9 ถือเป็นเลขมงคล ผู้คนในสมัยก่อนจะพากันไปปีนขึ้นเขาเพื่อชมทิวทัศน์และจิบน้ำชาดอกเก๊กฮวยที่มีสรรพคุณเป็นยาเพื่อป้องกันโรคระบาด นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังกำหนดให้ฉงหยางเป็นเทศกาลผู้สูงอายุควบด้วย
เทศกาล 7 นางฟ้า (The Night of Sevens)
• เทศกาลเจ็ดนางฟ้าตรงกับคืนแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ในวันเทศกาลทั้งหญิงที่แต่งงานแล้วและยังไม่ได้แต่งงานจะพากันไปไหว้ตาวหนุ่มเลี้ยงวัวที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือและดาวสาวทอผ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อรำลึกถึงความรักของทั้งสอง เทศกาล 7 นางฟ้า